วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วัน อังคารที่ 30 เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่เป็นการสอบร้องเพลง โดยอาจารย์จะเป็นคนจับฉลาก จับได้เลขที่ไหนคนนั้นต้องออกมาจับเพลงที่ต้องร้อง ซึ่งอาจารย์จับได้เราคนแรก และได้เพลงกุหลาบ
เพลงกุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    ได้เทคนิคการร้องเพลง และนำเพลงทั้งหมดที่อาจารย์สอนไปใช้ในอนาคต คือใช้ร้องกับเด็กปฐมวัย

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ได้ออกไปร้องเพลงคนแรก และจับได้เพลงกุหลาบ ตื่นเต้นมากแต่ก็ตั้งใจร้องอย่างเต็มที่เพราะก็เตรียมมาดี
-เพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจร้องเพลง บางคนได้เพลงง่ายแต่ร้องไม่ค่อยได้ บางคนร้องดีเราะเตรียมมาดี
-ครูผู้สอน

  อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยช่วยเหลือ คอยเคาะจังหวะให้ คอยให้กำลังใจตลอด


วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วัน อังคารที่ 21 เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
    การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเขียนแผน IEP แต่ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ก็จะมีกิจกรรมมาให้ทำเพื่อคลายเครียดก่อนเรียน

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)
แผนIEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น /ช่วยกันร่างหลายคน มีการตั้งชมรมขึ้นมา
           -ครู
           -การศึกษาพิเศษ
           -ผู้อำนวยการ
           -ประชุมผู้ปกครอง
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและ-ความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
 -ต้องเห็นพฤติกรรมเด็กก่อน
 -เห็นบริบทก่อน ใกล้ชิดเด็ก
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน                                                     
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
 2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
       -พ่อแม่
       -ครู
       -ครูการศึกษาพิเศษ
       -ผู้บริหาร
       -ครูที่สอนเสริม
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง /ครอบคลุมทุกสิ่งแต่ต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เช่น ด้านใดด้านหนึ่ง
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร                                                         อรุณ
อะไร                                      กระโดดขาเดียวได้                            
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน                          กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
                                                                               
ใคร                                                         ธนภรณ์
อะไร                                      นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                     
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน                          ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากการที่ได้เรียนแผน IEP ไปในวันนี้ทำให้เข้าใจของแผน IEP มากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่เรียนในวันนี้ไปประยุกต์เพื่อใช้เขียนแผน IEP ให้กับเด็กปฐมวัยได้

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างเต็มที่
-เพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจเรียน เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างเต็มที่
-ครูผู้สอน
  อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์สอนและแนะนำการเขียนแผน IEP เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายและเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปเขียนจริง





วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน
วัน อังคารที่ 7 เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
   การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะพื้นฐานทางการเรียน)
        
 เป้าหมายเพื่อ
-         ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
-         มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
-         เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
-         พัฒนาความกะตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-         อยากสำรวจ อยากทดลอง

 ช่วงความสนใจ 
-         จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
-         การเล่านิทานให้ฟังควรเลือกเรื่องสั้นๆน่าสนใจ
-         เด็กฟังนิทานจบจะเกิดความภูมิใจแล้วอยากฟังอีก
-         ต้องฝึกเด็กพิเศษให้มีสมาธิ 10 -15 นาที
     
   การเลียบแบบ
-         เด็กพิเศษจะเลียบแบบ เพื่อน ครู รุ่นพี่
-         จับเด็กเป็นคู่ เด็กพิเศษกับเด็กปกติ เวลาเรียกก็เรียกไปทั้ง สองคน
-         กรณีให้เด็กไปหยิบของให้ ครูต้องเรียกเด็กพิเศษและเด็กปกติไปด้วยกัน       

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
-         เด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น จากนั้นก็ตอบสนองอย่างเหมาะสม
-         การควบคุมกล้ามเนื้อ
ตัวอย่างกิจกรรมที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น
การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
          -  อุปกรณ์ในการเล่นต้องมีขนาดใหญ่และมีไม่ค่อยมาก เช่น บล็อก ถ้ามีเยอะเด็กก็จะเลือกเล่น และเปลี่ยนบ่อยๆ เด็กจะไม่มรสมาธิกับการเล่น
         -   กิจกรรมต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการของเด็ก

       ความจำ
-         จากการสนทนา
-         เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-         แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-         จำตัวละครในนิทาน
-         จำชื่อครู เพื่อน
-         เล่นเกมทายของที่หายไป
     -  ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

     การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-         จัดกลุ่มเด็ก
-         เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-         ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน  บอกการทำกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การเดินเวียนโต๊ะเมื่อเด็กทำเสร็จแล้วเพื่อเปลี่ยนกิจกรรมทำสิ่งใหม่
-         ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง เพื่อให้เด็กจำที่นั่งของตนเองได้และไม่เกิดความวุ่นวายเด็กจะมีระเบียบมากขึ้น
-         ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ให้เด็กทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เด็กจะเกิดความคุ้นเคย ให้เด็กทำซ้ำสิ่งนั้น 1 สัปดาห์ค่อยเปลี่ยน
-         บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุดจากการทำกิจกรรม ครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
-         รู้เมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน ครูต้องฉลาดแก้ปัญหา
-         มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-         เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมการสอนไว้ล่วงหน้า
-         พูดในทางที่ดี ชมเด็กเสมอเพราะเป็นการให้แรงเสริมในทางบวก
-         จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กจะชอบกิจกรรมเคลื่อนไหว
-         ทำบทเรียนให้สนุก เมื่อการเรียนสนุกเด็กก็จะอยากมาเรียนและเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากบทเรียนที่ครูจัดให้ในแต่ละวัน ครูคือสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ในเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในเรื่องของทักษะพื้นฐานการเรียน เราสามารถนำไปใช้กับเด็กคือ นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียน

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกตาม วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ ทำให้ทราบข้อบกพร่อง ข้อถูกข้อผิด
-เพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจเรียน วันนี้เฮฮาตอนเฉลยข้อสอบ
-ครูผู้สอน

  อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์เฉลยข้อสอบให้ฟัง และบอกเทคนิคการสังเกตเด็กพิเศษ