วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน อังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง ทักษะของครูและทัศนคติ และก่อนการเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อน คือการสเกตภาพมือข้างซ้ายโดยให้สวมถุงมือปิดไว้ แล้ววาดมือให้เหมือนที่สุด และท้ายคาบก็จะมีกิจกรรมการร้องเพลง

ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม                             
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา                                                                                         
- สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
 - เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก คือจะไม่แยกเด็กปกติกับเด็กพิเศษ  

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
   - การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
-โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)

การสอนโดยบังเอิญ
คือเด็กจะเป็นฝ่ายเข้ามาถาม หรือถ้าเด็กไม่เข้าหาครูต้องเป็นฝ่ายเข้าไปหาเด็กเพราะเด็กอาจจะต้องการความช่วยเหลือ ครูเองก็ไม่ควรรำคาญเด็ก ต้องให้ความสนใจเด็กอยู่ตลอด ครูต้องสอนต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
ต้องจัดตารางให้เหมือนๆกันทุกวัน ต้องจัดให้ชัดเจน และเด็กสามารถคาดเดาได้ว่าต้องเรียนอะไร

ทัศนคติของครู
   ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

เทคนิคการให้แรงเสริม
   แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
 - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก                                                                                                   
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
- ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น

ความคงเส้นคงวา
คือ เมื่อต้นเทอมสอนยังไงปลายเทอมก็ต้องสอนแบบนั้น


                                                           กิจกรรมสเกตมือ
มือคนเราถึงจะเห็นทุกวัน อยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เกิด แต่เราก็ไม่สามารถจดจำรายละเอีอดได้ครบทุกส่วนเช่นเดียวกับเด็ก ถึงครูจะเห็นเด็กอยู่ตลอด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะจำพฤติกรรมที่เด็กแสดงได้ ดังนั้นเมื่อครูเห็นเด็กแสดงพฤติกรรมอะไรออกมครูควรจดบันทึกเรยตอนนั้น

                                                           กิจกรรม การร้องเพลง



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     จากการเรียนเนื้อหาในเรื่องของทักษะของครูและทัศนคติ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมาก เป็นเรื่องที่เราต้องใช้ในการเป็นครูที่ดีในอนาคต คือ เราสามารถวางตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ปกครองเราควรพูดถึงเด็กแบบไหนให้ฟังดูดี การเสริมแรงเราจะเสริมแรงไปในทางไหนจึงจะเหมาะสม

การประเมินการเรียนการสอน

-ตนเอง
  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้มีกิจกรรมการสเกตมือ ดิฉันก็ได้วาดอย่างเต็มที่ อาจจะดูไม่เหมือนจริงหรือมีบางส่วนที่เหมือนจริงอยู่บ้าง เรียนเนื้อหาก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยบ้างเล็กน้อย

-เพื่อน
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน ในกิจกรรมสเกตมือ เพื่อนๆก็ตั้งใจวาดกันอย่างตั้งใจ อาจจะวาดออกมาไม่เหมือนแต่ทุกคนก็ตั้งใจวาด วันนี้เพื่อนๆมีคุยกันบ้างบางช่วง แต่ก็ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน

-ครูผู้สอน

    อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย และในการเรียนทุกคาบอาจารย์ก็จะมีกิจกรรมมาให้ทำอยู่เสมอ




วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วัน อังคารที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนในวันนี้ เรียนเนื้อหาเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม ก่อนเรียนมีกิจกรรมการวาดดอกทานตะวันและท้ายคาบอาจารย์ก็มีเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาให้ร้อง


ครูไม่ควรวินิจฉัย
     การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
-       -   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-      -   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-     -      สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-      -    จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
-          - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-        -   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-       -    ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
-          - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-         -  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-       -    บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-        -  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-        - ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-       -   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
-         - การนับอย่างง่ายๆ
-        -  การบันทึกต่อเนื่อง
-       -  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-          บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-         เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  -  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  -  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
      -  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
     - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



                                                          กิจกรรม การวาดดอกทานตะวัน




                                                            กิจกรรม การร้องเพลง





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     บทบาทที่ดีของครูคือ เป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ครูจะไม่ตั้งชื่อหรือฉายาให้เด็ก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นแบบที่ครูเรียกจริง และชื่อที่ครูตั้งให้ก็จะเป็นตาประทับติดตัวเด็กไป และสามารถนำเรื่องการสังเกตไปใช้สังเกตเด็กได้จริงเมื่อเราจบไปเป็นครู

การประเมินการเรียนการสอน

-ตนเอง
  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน แต่คาบนี้จะคุยเยอะกว่าทุกคาบ พออาจารย์ถามก็ตอบไม่ได้เพาะมัวคุยกะเพื่อน ต่อไปก็จะคุยให้น้อยลงและตั้งใจฟังกว่านี้ค่ะ

-เพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจคุยบ้างบางกลุ่มบางช่วง โดยเฉพาะเพื่อนกลุ่มเราเอง คุยเยอะจนฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่อง แต่ก็ยังมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์นะคะ

-ครูผู้สอน

   อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและคอยเตือนสตินักศึกษาตลอดเวลาคุยกันให้กับมาตั้งใจเรียน อาจารย์มีการแสดงท่าทางให้ดู อาจารย์มีเทคนิคดีๆที่หลากหลายมาสอนมาให้นักศึกษาอยู่เสมอ




บันทึกอนุทินครั้งที่    3

วัน อังคารที่ 20  เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน



ความรู้ที่ได้รับ
     การเรียนการสอนในวันนี้ เรียนเนื้อหา เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา  การศึกษาแบบปกติ การศึกษาพิเศษ การศึกษาแบบพิเศษ และการศึกษาแบบเรียนรวม  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีข้อสอบให้ทำ ในเรื่องที่เราเรียนมา

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  
   Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน คือต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก แต่ละคนย่อมมีความต้องการเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกัน ครูต้องจัดการศึกษาตามความต้องการของเด็ก

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      จากเนื้อหาที่เรียนมา ทำให้ทราบถึงความหมายของการจัดการศึกษาแต่ละแบบ และสามารถนำไปเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษได้ เช่นในเด็กเรียนร่วมบางเวลา จะเหมาะกับกิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมดนตรี เราก็สามารถที่จะจัดให้กับเด็กได้ ในเด็กเรียนรวม เราก็สามารถสอนให้เหมือนกับเด็กปกติได้ เรื่องไหนที่เด็กช้า ตามไม่ทันครูก็จะค่อยๆสอน ในขณะเดียวกันในเรื่องที่เด็กถนัดเราก็จะส่งเสริมให้เด็กทำให้ดีขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน

-ตนเอง
  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน มีคุยกะเพื่อนข้างๆบ้าง ในท้ายคาบที่อาจารย์ให้ทำข้อสอบ ก็ทำอย่างเต็มที่ อาจจะมีข้อที่ผิดบ้าง

-เพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน บางคนก็ตั้งใจคุย มีคนเข้าสายบ้าง แต่ก็ทันที่อาจารย์สอน ในท้ายคาบเพื่อนๆก็ตั้งใจทำข้อสอบกัน เพราะเก็บคะแนนด้วย

-ครูผู้สอน

    อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์แนะนำ สอนเรื่องดีๆให้นักศึกษาเสมอ คาบนี้อาจารย์สอนเนื้อหา มีการสาธิตท่าทางให้ดูเพื่อให้เห็นภาพ เวลาทำข้อสอบ อาจารย์ก็จะคอยเดินดูนักศึกษาตลอด อาจารย์สอนไม่เบื่อ ได้ขำได้หัวเราะคลายเครียด
ทุกคาบ