บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน อังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง
ทักษะของครูและทัศนคติ และก่อนการเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อน คือการสเกตภาพมือข้างซ้ายโดยให้สวมถุงมือปิดไว้
แล้ววาดมือให้เหมือนที่สุด และท้ายคาบก็จะมีกิจกรรมการร้องเพลง
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก คือจะไม่แยกเด็กปกติกับเด็กพิเศษ
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
-โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)
การสอนโดยบังเอิญ
คือเด็กจะเป็นฝ่ายเข้ามาถาม
หรือถ้าเด็กไม่เข้าหาครูต้องเป็นฝ่ายเข้าไปหาเด็กเพราะเด็กอาจจะต้องการความช่วยเหลือ
ครูเองก็ไม่ควรรำคาญเด็ก ต้องให้ความสนใจเด็กอยู่ตลอด
ครูต้องสอนต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
ต้องจัดตารางให้เหมือนๆกันทุกวัน ต้องจัดให้ชัดเจน
และเด็กสามารถคาดเดาได้ว่าต้องเรียนอะไร
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่
ยิ่งดีเท่านั้น”
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ
หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
คือ เมื่อต้นเทอมสอนยังไงปลายเทอมก็ต้องสอนแบบนั้น
กิจกรรมสเกตมือ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากการเรียนเนื้อหาในเรื่องของทักษะของครูและทัศนคติ
เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมาก เป็นเรื่องที่เราต้องใช้ในการเป็นครูที่ดีในอนาคต
คือ เราสามารถวางตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ปกครองเราควรพูดถึงเด็กแบบไหนให้ฟังดูดี
การเสริมแรงเราจะเสริมแรงไปในทางไหนจึงจะเหมาะสม
การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย วันนี้มีกิจกรรมการสเกตมือ
ดิฉันก็ได้วาดอย่างเต็มที่ อาจจะดูไม่เหมือนจริงหรือมีบางส่วนที่เหมือนจริงอยู่บ้าง
เรียนเนื้อหาก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยบ้างเล็กน้อย
-เพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
ในกิจกรรมสเกตมือ เพื่อนๆก็ตั้งใจวาดกันอย่างตั้งใจ
อาจจะวาดออกมาไม่เหมือนแต่ทุกคนก็ตั้งใจวาด วันนี้เพื่อนๆมีคุยกันบ้างบางช่วง
แต่ก็ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน
-ครูผู้สอน
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน
ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย
และในการเรียนทุกคาบอาจารย์ก็จะมีกิจกรรมมาให้ทำอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น