บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วัน อังคารที่ 20 เดือน
มกราคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนในวันนี้ เรียนเนื้อหา
เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา
การศึกษาแบบปกติ การศึกษาพิเศษ การศึกษาแบบพิเศษ และการศึกษาแบบเรียนรวม พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีข้อสอบให้ทำ
ในเรื่องที่เราเรียนมา
รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular
Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special
Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated
Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก
จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน
ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์
เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน
มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive
Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson
, 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
"Inclusive Education is Education for
all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional
services
needed by each individual"
“การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
คือต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก แต่ละคนย่อมมีความต้องการเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกัน
ครูต้องจัดการศึกษาตามความต้องการของเด็ก”
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-การเรียนรวม
เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ
อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ
โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากเนื้อหาที่เรียนมา
ทำให้ทราบถึงความหมายของการจัดการศึกษาแต่ละแบบ และสามารถนำไปเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษได้
เช่นในเด็กเรียนร่วมบางเวลา จะเหมาะกับกิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเคลื่อนไหว
กิจกรรมดนตรี เราก็สามารถที่จะจัดให้กับเด็กได้ ในเด็กเรียนรวม
เราก็สามารถสอนให้เหมือนกับเด็กปกติได้ เรื่องไหนที่เด็กช้า
ตามไม่ทันครูก็จะค่อยๆสอน ในขณะเดียวกันในเรื่องที่เด็กถนัดเราก็จะส่งเสริมให้เด็กทำให้ดีขึ้น
การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน
มีคุยกะเพื่อนข้างๆบ้าง ในท้ายคาบที่อาจารย์ให้ทำข้อสอบ ก็ทำอย่างเต็มที่ อาจจะมีข้อที่ผิดบ้าง
-เพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน บางคนก็ตั้งใจคุย
มีคนเข้าสายบ้าง แต่ก็ทันที่อาจารย์สอน ในท้ายคาบเพื่อนๆก็ตั้งใจทำข้อสอบกัน
เพราะเก็บคะแนนด้วย
-ครูผู้สอน
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์แนะนำ สอนเรื่องดีๆให้นักศึกษาเสมอ
คาบนี้อาจารย์สอนเนื้อหา มีการสาธิตท่าทางให้ดูเพื่อให้เห็นภาพ เวลาทำข้อสอบ
อาจารย์ก็จะคอยเดินดูนักศึกษาตลอด อาจารย์สอนไม่เบื่อ
ได้ขำได้หัวเราะคลายเครียด
ทุกคาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น