วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วัน อังคารที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนในวันนี้ เรียนเนื้อหาเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม ก่อนเรียนมีกิจกรรมการวาดดอกทานตะวันและท้ายคาบอาจารย์ก็มีเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาให้ร้อง


ครูไม่ควรวินิจฉัย
     การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
-       -   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-      -   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-     -      สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-      -    จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
-          - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-        -   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-       -    ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
-          - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-         -  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-       -    บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-        -  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-        - ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-       -   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
-         - การนับอย่างง่ายๆ
-        -  การบันทึกต่อเนื่อง
-       -  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-          บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-         เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  -  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  -  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
      -  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
     - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



                                                          กิจกรรม การวาดดอกทานตะวัน




                                                            กิจกรรม การร้องเพลง





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     บทบาทที่ดีของครูคือ เป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ครูจะไม่ตั้งชื่อหรือฉายาให้เด็ก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นแบบที่ครูเรียกจริง และชื่อที่ครูตั้งให้ก็จะเป็นตาประทับติดตัวเด็กไป และสามารถนำเรื่องการสังเกตไปใช้สังเกตเด็กได้จริงเมื่อเราจบไปเป็นครู

การประเมินการเรียนการสอน

-ตนเอง
  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน แต่คาบนี้จะคุยเยอะกว่าทุกคาบ พออาจารย์ถามก็ตอบไม่ได้เพาะมัวคุยกะเพื่อน ต่อไปก็จะคุยให้น้อยลงและตั้งใจฟังกว่านี้ค่ะ

-เพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจคุยบ้างบางกลุ่มบางช่วง โดยเฉพาะเพื่อนกลุ่มเราเอง คุยเยอะจนฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่อง แต่ก็ยังมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์นะคะ

-ครูผู้สอน

   อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและคอยเตือนสตินักศึกษาตลอดเวลาคุยกันให้กับมาตั้งใจเรียน อาจารย์มีการแสดงท่าทางให้ดู อาจารย์มีเทคนิคดีๆที่หลากหลายมาสอนมาให้นักศึกษาอยู่เสมอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น