วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วัน อังคารที่ 17 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
   การเรียนการสอนวันนี้ เรียนเรื่องทักษะการช่วยเหลือตนเอง และกิจกรมท้ายคาบคือ กิจกรรมวงกลมบ่งนิสัย

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
-         เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-         การกินอยู่
-         การเข้าห้องน้ำ
-         การแต่งตัว
-         กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตัวอย่าง ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อออกได้
- เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
-ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้
- แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
-ดื่มน้ำจากแก้วได้
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
-บอกว่าจะเข้าห้องน้ำได้โดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมท้ายคาบ



กิจกรรม วงกลมบ่งนิสัย





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ในเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในเรื่องของทักษะการช่วยเหลือตนเอง เราสามารถนำไปใช้กับเด็กคือ การส่งเสริมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง เรื่องการเข้าส้วม การแต่งตัว การกินอยู่ เราต้องหัดเด็กไปอย่างช้าๆ ซ้ำๆให้เด็กได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ในการสอนเราต้องแยกสอนเด็กเป็นขั้นตอนทีละขั้น อาจสอนจากการย่อยงาน ข้างหน้าไปหลัง หรือการย้อนจากข้างหลังมาหน้าได้

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดเพิ่มเติม กิจกรรมท้ายคาบคือ วงกลมบ่งนิสัย หลังจากที่ทำเสร็จ อาจารย์ได้บอกลักษณะนิสัย คือเป็นคนซับซ้อน คิดอะไรก็จะพูดจะทำแบบนั้นทันทีโดยไม่ฟังใคร และวงกลมรอบนอกเป็นคนใจกว้างกับเพื่อน

-เพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและจดตาม กิจกรรมวงกลมทุกคนวาดได้ต่างกัน บางคนวงเล็ก บางคนวงใหญ่ และในกิจกรรมเพลงทุกคนก็ช่วยกันร้อง มีเพี้ยนบ้างบางท่อน แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

 -ครูผู้สอน

  อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย ในกิจกรรมวงกลม อาจารย์ก็จะเดินดูและบอกลักษณะนิสัยให้กับทุกคน

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

      การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ กิจกรรมก่อนเรียนวันนี้ มีรูปสิงโตที่กำลังกินม้าลายอยู่ เมื่อเราเห็นเรารู้สึกอย่างไรแล้วให้บอกความรู้สึกของตนเอง คำตอบจะบ่งบอกถึงเวลาเราดูหนังแบบนั้นเรารู้สึกอย่างไร และก่อนทำกิจกรรมท้ายคาบอาจารย์เปิดวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิตให้ดู และกิจกรรมท้ายคาบเป็นกิจกรรมบำบัด คือให้วาดรูปเส้นตรงต่อกันไปเรื่อยๆจนจบเพลงแล้วให้ระบายสีช่องที่เส้นตัดกัน


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด

พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

   ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิต
- ด้านร่างกาย เด็กได้ฝึกการทรงตัว ได้กระโดด
- ด้านอารมณ์ เมื่อเด็กได้ยินสียงเพลงเด็กก็จะเริ่มที่จะทำตาม
- ด้านสังคม เด็กเริ่มรู้จักการรอคอย มีทักษะการฟังที่ดี

1 กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง
     ช่วงเช้าจะฝึกสมาธิด้วยกิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 10 นาที ในขณะที่ทำกิจกรรมก็จะท่องคำกลอนและสูตรคูณไปด้วย
2 กิจกรรมผึ้งเปลี่ยนรัง
    จะให้เด็กจินตนาการตัวเองเป็นผึ้ง แล้วทำท่าทางผึ้งบิน บินไปหาน้ำหวาน บินหารัง
3 กิจกรรมหอยโข่ง

กิจกรรมบำบัดในวันนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ในเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในเรื่องของภาษา เราสามารถนำไปใช้กับเด็กคือ ในห้องเรียนที่ส่งเสริมทางภาษาของเด็ก ภายในห้องจะต้องมีตัวหนังสือติดยู่เยอะๆ มีเพลง มีกลอน นิทาน คำศัพท์ อยู่ภายในห้อง สิ่งสำคัญที่ครูและผู้ปกครองต้องปฏิบัติคือ ห้ามบอกเด็กให้พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด และจะไม่ขัดจังหวะขณะเด็กพูด และในกิจกรรมบำบัดที่ได้ทำ สามารถนำไปใช้กับเด็กปกติก็ได้ และทำได้ดี ทำบ่อยๆให้เกิดผล

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้มีกิจกรรมให้ทำตอนต้นคาบและท้ายคาบ เป็นกิจกรรมบำบัด คือให้วาดรูปเส้นตรงไปตามเพลง วันนี้มีคุยบ้างเล็กน้อย แต่ก็ตั้งใจฟังและตั้งใจจดบันทึกตามเพิ่มเติมที่ครูสอน

-เพื่อน
  วันนี้เรียนรวมกัน 2 กลุ่ม ทำให้บรรยากาศในห้องเสียงดัง เฮฮา ครึกครื้น เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจเรียน บางคนก็ตั้งใจคุย มีนั่งกินขนมในขณะที่ครูสอนด้วย เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี

-ครูผู้สอน
  อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย วันนี้เรียนรวมกัน 2 กลุ่ม ทำให้อาจารย์สอนไม่ทั่วถึง และอาจจะเหนื่อยเพราะต้องใช้เสียงเยอะ



วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วัน อังคารที่ 3 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน



ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาก็มีกิจกรรมเด็ดๆมาให้ทำก่อนตอนต้นคาบ เป็นกิจกรรมทดสอบตัวตนเราเอง หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จก็มีกิจกรรมบำบัดเด็กจากเสียงดนตรีและศิลปะให้ทำ และมีกิจกรรมร้องเพลงในท้ายคาบ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
 กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
ครูจดบันทึก
ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
•  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดย การพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
การให้โอกาสเด็ก
เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบสามารถนำไปใช้เล่นกับเพื่อนๆได้จริง ในเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กคือ เรารู้แนวทางของการส่งเสริมเด็กแล้วเราก็จะได้ส่งเสริมเด็กให้ถูกวิธี ครูไม่ควรที่จะเอาข้ออ้างของเด็กพิเศษไปอ้างกะเด็กปกติ เวลาที่เด็กทำกิจกรรมครูจะไม่หันหลังให้เด็ก จะยิ้มให้เด็กแต่จะไม่ชมเด็กมากไป คือจะต้องชมให้ถูกจุดโดยเฉพาะ และในกิจกรรมดนตรีบำบัดที่ได้ทำ สามารถนำไปใช้กับเด็กปกติก็ได้ และทำได้ดี ทำบ่อยๆให้เกิดผล

การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้มีกิจกรรมอยู่ 3 กิจกรรม กิจกรรมแรกเป็นกิจกรรมที่สนุก ตื่นเต้น และเป็นที่ชอบใจของเหล่าเพื่อนๆ กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้เล่นกับเพื่อนๆได้ และรู้ตัวตนของตัวเองมากขึ้น อาจจะตรงบ้างหรือไม่ตรงบ้าง ส่วนกิจกรรมบำบัด เส้นกะจุด กิจกรรมนี้มั่วมาก วาดรูปต่อเติมได้ตลกมาก แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

 -เพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน วันนี้เพื่อนๆเฮฮากันมาก เพราะกิจกรรมที่ทำ มีคำตอบที่แปลกๆให้เพื่อนในห้องได้หัวเราะกัน ได้รู้จักตัวตนลึกๆของเพื่อนเป็นยังไงกันบ้าง ถึงจะขำกันแต่กิจกรรมที่ทำก็มีสาระและนำไปใช้ต่อได้

-ครูผู้สอน

อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย และในการเรียนทุกคาบอาจารย์ก็จะมีกิจกรรมมาให้ทำอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาทิตย์นี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ 3 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ทุกคนชื่นชอบและเฮฮากันอย่างมาก แฝงสาระที่ดีไว้ในกิจกรรมด้วย อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเด็ดๆมาให้ทำอย่างนี้ทุกอาทิตย์ค่ะ