บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม
พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
กิจกรรมก่อนเรียนวันนี้ มีรูปสิงโตที่กำลังกินม้าลายอยู่
เมื่อเราเห็นเรารู้สึกอย่างไรแล้วให้บอกความรู้สึกของตนเอง คำตอบจะบ่งบอกถึงเวลาเราดูหนังแบบนั้นเรารู้สึกอย่างไร
และก่อนทำกิจกรรมท้ายคาบอาจารย์เปิดวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิตให้ดู และกิจกรรมท้ายคาบเป็นกิจกรรมบำบัด
คือให้วาดรูปเส้นตรงต่อกันไปเรื่อยๆจนจบเพลงแล้วให้ระบายสีช่องที่เส้นตัดกัน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิต
- ด้านร่างกาย เด็กได้ฝึกการทรงตัว ได้กระโดด
- ด้านอารมณ์ เมื่อเด็กได้ยินสียงเพลงเด็กก็จะเริ่มที่จะทำตาม
- ด้านสังคม เด็กเริ่มรู้จักการรอคอย มีทักษะการฟังที่ดี
1 กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง
ช่วงเช้าจะฝึกสมาธิด้วยกิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 10 นาที ในขณะที่ทำกิจกรรมก็จะท่องคำกลอนและสูตรคูณไปด้วย
2 กิจกรรมผึ้งเปลี่ยนรัง
จะให้เด็กจินตนาการตัวเองเป็นผึ้ง แล้วทำท่าทางผึ้งบิน บินไปหาน้ำหวาน บินหารัง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในเรื่องของภาษา
เราสามารถนำไปใช้กับเด็กคือ ในห้องเรียนที่ส่งเสริมทางภาษาของเด็ก
ภายในห้องจะต้องมีตัวหนังสือติดยู่เยอะๆ มีเพลง มีกลอน นิทาน คำศัพท์
อยู่ภายในห้อง สิ่งสำคัญที่ครูและผู้ปกครองต้องปฏิบัติคือ ห้ามบอกเด็กให้พูดช้าๆ
ตามสบาย คิดก่อนพูด และจะไม่ขัดจังหวะขณะเด็กพูด และในกิจกรรมบำบัดที่ได้ทำ
สามารถนำไปใช้กับเด็กปกติก็ได้ และทำได้ดี ทำบ่อยๆให้เกิดผล
การประเมินการเรียนการสอน
-ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย วันนี้มีกิจกรรมให้ทำตอนต้นคาบและท้ายคาบ
เป็นกิจกรรมบำบัด คือให้วาดรูปเส้นตรงไปตามเพลง วันนี้มีคุยบ้างเล็กน้อย
แต่ก็ตั้งใจฟังและตั้งใจจดบันทึกตามเพิ่มเติมที่ครูสอน
-เพื่อน
วันนี้เรียนรวมกัน 2 กลุ่ม ทำให้บรรยากาศในห้องเสียงดัง
เฮฮา ครึกครื้น เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจเรียน บางคนก็ตั้งใจคุย มีนั่งกินขนมในขณะที่ครูสอนด้วย
เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี
-ครูผู้สอน
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการพูดและการแต่งกาย อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน
ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่าย วันนี้เรียนรวมกัน
2 กลุ่ม ทำให้อาจารย์สอนไม่ทั่วถึง
และอาจจะเหนื่อยเพราะต้องใช้เสียงเยอะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น